3 แนวทางลดโลกร้อนแบบชาวเล
ของชุมชนบ้านมดตะนอย จ.ตรัง
ปัญหาโลกร้อนส่งผลกระทบกับระบบนิเวศชายฝั่งทะเล และสัตว์น้ำใต้ท้องทะเล เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ วันนี้ #เพื่อนชุมชน ชวนไปดู 3 แนวทางลดโลกร้อนแบบชาวเล ของชุมชนบ้านมดตะนอย จ.ตรัง
ที่ช่วยคืนความสมดุลระบบนิเวศ และลดภาวะโลกร้อน ด้วยความร่วมมือของคนในชุมชน สู่การแลกเปลี่ยนต่อยอดความคิดไปยังชุมชนอื่น ๆ จะมีแนวทางอะไรบ้างไปดูกันเลยครับ
แนวทางแรก #ปลูกหญ้าทะเลลดโลกร้อน
ประเทศไทยพบหญ้าทะเล 12 ชนิด จาก 58 ชนิดพันธุ์ทั่วโลก ซึ่งหญ้าทะเลถือเป็นผู้ผลิตที่สำคัญในระบบนิเวศวิทยาทางทะเล ดังนี้
🌎 ช่วยลดภาวะโลกร้อน เพราะสามารถกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่านิเวศป่าบกเขตร้อนหลายเท่า
🌱 กรอง และปรับปรุงคุณภาพน้ำ
🌱 มีระบบรากที่คอยยึดจับเพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน
🌱 ให้ออกซิเจนแก่สัตว์น้ำ
🌱 เป็นแหล่งอาหารสำคัญของพะยูน และเต่าทะเล ที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์
🌱 เป็นแหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ทะเล ซึ่งเป็นแหล่งทำมาหากินของคนในชุมชน ชายฝั่งทะเล
นับเป็นการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพใต้ท้องทะเล ช่วยรักษา ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และระบบนิเวศให้คงความสมบูรณ์ รวมถึงสร้างความเป็นอยู่ที่ดีแก่ชุมชนชายฝั่งทะเลอีกด้วย
แนวทางที่สอง #จัดการขยะอย่างเป็นระบบ
มีการให้ความรู้การจัดการขยะแก่ชาวบ้าน เริ่มจากการลดใช้กล่องโฟมโดยหันมาใช้วัสดุธรรมชาติทดแทน สนับสนุนให้ทุกคนพกแก้วน้ำ กล่องข้าว ถุงผ้าส่วนตัวไปซื้อของ
มีการนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้ามาใช้ในชุมชน เช่น ตั้งถังขยะหน้าหาดไว้สำหรับทิ้งขยะ และคัดแยกอย่างถูกวิธี ขยะที่ถูกคัดแยกแล้วจะถูกนำกลับมาหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์ เช่น
📌 ขยะเศษอาหารนำไปเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ หรือทำปุ๋ยหมัก
📌 เศษอวนมาทำถุงคัดแยกขยะแทนการใช้ถุงพลาสติก
📌 หลอดน้ำหวานนำมาตัดทำหมอนรองแขนขณะบริจาคเลือด
📌 เศษผ้านำมาเย็บเป็นผ้าขี้ริ้ว
📌 ขยะที่ย่อยสลายยากนำมายัดใส่ขวดแทนการใช้อิฐทำกำแพง ซึ่งช่วยลดโลกร้อนได้
ทำให้พื้นที่ชุมชนสะอาดน่าอยู่ ส่งผลต่อสุขภาพ ความเป็นอยู่ และรายได้ที่เพิ่มขึ้น
แนวทางที่สาม #สร้างความร่วมมือของคนในชุมชนและขยายผลสู่ชุมชนอื่น
หัวใจสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ คือ ความร่วมมือของคนในชุมชน และการต่อยอดให้ชุมชนอื่น ๆ สามารถนำแนวทางไปปรับใช้ได้
ขอบคุณข้อมูลดีๆ : SCG
Leave A Comment