ถ้าไม่อยากตกเป็นเหยื่อความเชื่อที่ผิดๆ ตามข้อมูลบนโลกออนไลน์ดังนั้นต้องตรวจสอบรายละเอียดก่อน เพราะไม่เช่นนั้นอาจเจอ Fake News ได้

ปัจจุบันโลกโซเชียล กลายเป็นแหล่งรับข้อมูลข่าวสารที่สำคัญของทุกคน อีกทั้งยังเป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารได้ในทันที เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส ซึ่งการแชร์ข้อมูลบางครั้งมีทั้งจริงและไม่จริง นั้นก็ยากจะตรวจสอบหรือค้นหาต้นตอ อาจมีคนตั้งใจทำเนื้อหาข้อมูลเท็จขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจง บางคนรับมาแล้วแชร์เนื้อหาผิด ๆ นั้นออกไปโดยไม่ได้ตั้งใจ (Misinformation)

เมื่อพูดถึงคำว่า Fake News ไม่ได้หมายถึงข่าวที่ไม่จริงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่ไม่เป็นความจริงด้วย ดังนั้นถ้าเราอยากจะเข้าใจในกระบวนการการส่งต่อหรือแชร์ข้อมูลข่าวสารที่ไม่เป็นความจริง ควรจะต้องทำความเข้าใจกับประเภทของข่าวสารข้อมูลเท็จ แรงจูงใจของคนทำ และเนื้อหาที่ถูกจัดทำขึ้นแล้วแพร่ออกไป

โดยส่วนหนึ่ง Fake News ถูกจัดทำขึ้นเพื่อความตลก เสียดสี เพื่อความสนุกสนาน ซึ่งผู้รับก็ทราบดีว่าเป็นเรื่องไม่จริงแต่ก็อยากจะอ่านและแชร์ หรืออีกประเภท คือเนื้อหาที่ทำขึ้นเพื่อให้เข้าใจผิด ทั้งแบบตั้งใจและไม่ตั้งใจ และเมื่อเราได้รับข้อมูล Fake News นั่นอาจส่งต่อการตัดสินใจ หรือสร้างความ

#เพื่อนชุมชน จึงมีวิธีเช็กข่าวว่าเป็น FAKE NEWS หรือไม่มาฝากเพื่อนๆ พี่น้องทุกคนครับ

ขอบคุณที่มา : pptv