เศรษฐกิจผู้สูงวัย

ปัจจุบันหลาย ๆ ประเทศมีสัดส่วนประชากรผู้สูงวัยมากขึ้นเรื่อย ๆ 👵🏻 เนื่องจากความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขด้านพื้นฐาน 👩🏻‍⚕️ ทำให้คนอายุขัยเฉลี่ยมากกว่าเดิม บวกกับคนรุ่นใหม่ไม่อยากมีลูก ทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ที่อิงกับสถานการณ์ที่เรียกว่า “เศรษฐกิจผู้สูงวัย” ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าในปี ค.ศ. 2050 จะมีประชากรโลกที่อายุมากกว่า 60 ปี มากถึง 2 พันล้านคน นับเป็นจำนวนประชากรในโลกถึง 22%

­

แล้วเศรษฐกิจผู้สูงวัยคืออะไร

เป็นระบบเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ตอบสนองความต้องการ และความจำเป็นของผู้สูงอายุ ทั้งผลิตภัณฑ์ บริการ กิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่น ๆ โดยผู้สูงอายุในที่นี่รวมถึงผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปด้วย สัดส่วนจำนวนประชากรของโลกกลุ่มนี้ มีอัตราการบริโภคสินค้าและบริการคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 140ล้านล้านบาทโดยส่วนใหญ่เป็นเงินที่ได้มาจากการทำงาน การเก็บออม หรือเงินที่ได้จากรัฐบาล สำหรับประเทศไทย สามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวที่อิงกับการแพทย์หรือรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพแบบอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย

­

👨🏻‍⚕️การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์กับเชิงสุขภาพ

🩺การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ คือการเน้นรักษาความเจ็บปวดและการแก้ไขให้มีสุขภาพดีขึ้น มีแรงจูงใจจากการเข้าการรักษาในราคาถูกแต่มีคุณภาพดี หรือหาไม่ได้ในประเทศของตน

🇹🇭ประเทศไทยมีจุดแข็งในด้านการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) ซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวเนื่องจากมีราคาค่ารักษาที่สมเหตุสมผล คุณภาพบุคลากรและสถานพยาบาลที่สูง และเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม โดยไทยมีราคาค่ารักษาที่แข่งขันได้ บุคลากรทางการแพทย์มีความเชี่ยวชาญ และมีโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน JCI มากที่สุดในอาเซียน

ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมุ่งพัฒนา Medical Tourism โดยภาครัฐมีนโยบายผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ และส่งเสริมการลงทุนผ่าน BOI ส่วนภาคเอกชนก็พัฒนาความสามารถในการบริการเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว

อย่างไรก็ตาม ไทยยังต้องเผชิญกับความท้าทาย เช่น การแข่งขันจากประเทศอื่น ๆ การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ และการปรับตัวต่อกระแส Technology Disruption จาก HealthTech

กลยุทธ์สำคัญสำหรับการก้าวเป็นผู้นำในตลาด Medical Tourism ประกอบด้วย การสร้างและผลักดัน Branding การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ การยกระดับคุณภาพการให้บริการ และการนำ HealthTech มาปรับใช้ในธุรกิจ

🧘🏻‍♀️การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

เน้นการสร้างความแข็งแรงและเพิ่มสมรรถภาพ ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยได้ในอีกทางหนึ่ง สร้างความต้องการที่จะสุขภาพดี มีความสุข ป้องกันการเจ็บป่วย ลดความเครียด เป็นการจัดการชีวิตให้ดีขึ้น ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ด้วยการผสมผสานระหว่างความหลากหลายทางวัฒนธรรม บริการทางการแพทย์ระดับโลก และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ประเทศไทยติดอันดับ 4 ของเอเชียและอันดับ 10 ของโลกในด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มีโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรอง JCI สูงเป็นอันดับ 1 ใน 5 ของโลก และกรุงเทพฯ ถูกจัดอันดับ 1 ของโลกสำหรับการทำงานและท่องเที่ยวไปด้วย

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเน้นที่การผ่อนคลายและดูแลสุขภาพมากกว่าการรักษาโรค ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มมูลค่าได้โดยการให้บริการตรวจสุขภาพ การนวดไทย การเล่นโยคะ และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อาหารและที่พักควรออกแบบให้เป็นมิตรกับสุขภาพและสะดวกสบายสำหรับผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังควรร่วมมือกับสถานพยาบาลและคลินิกในการให้บริการสุขภาพอย่างครบวงจร

💁🏻‍♀️การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสามารถพัฒนาให้ครอบคลุมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร วิถีชุมชน และแพทย์แผนไทย ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งเสริมสุขภาพกายและจิต แต่ยังช่วยสร้างงานและพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ความสำเร็จนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคม ตั้งแต่ผู้ประกอบการไปจนถึงรัฐบาล

ที่มา : https://www.mhesi.go.th/images/STBookSeries


💚สมาคมเพื่อนชุมชน 🧡บ้านเราน่าอยู่ สังคมยั่งยืน

🟦Facebook : เพื่อนชุมชน

🟩LINE : https://lin.ee/VIi714f

🟧Website : www.community.or.th

🟥YouTube : @puenchumchon

เมนู

สมาคมเพื่อนชุมชน

เพื่อส่งเสริมการสื่อสารที่เปิดเผยและโปร่งใสระหว่างอุตสาหกรรมและชุมชนเพื่อให้ชุมชนและอุตสาหกรรมอยู่ด้วยความวางใจซึ่งกันและกันและให้ชุมชนมั่นใจว่าอุตสาหกรรมพร้อมอยู่เคียงข้างและให้ความช่วยเหลือชุมชนอย่างเต็มที่