การเกษตรเป็นรากฐานสำคัญที่หล่อเลี้ยงทั้งชีวิตผู้คนและเศรษฐกิจของชุมชน ในยุคที่โลกกำลังเผชิญกับความท้าทายทางสิ่งแวดล้อมและประชากรที่เพิ่มขึ้น การเกษตรแบบดั้งเดิมกลับแสดงให้เห็นข้อจำกัดที่ชัดเจนมากขึ้น
การเกษตรแบบยั่งยืน ไม่ใช่แค่การใช้วิธีการหรือเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่เป็นแนวคิดกว้าง ๆ ที่รวมการพัฒนาวิธีการจัดการทางการเกษตรและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เหตุผลสำคัญที่ทำให้การเกษตรแบบยั่งยืนเป็นที่ต้องการมากขึ้น เพราะการเกษตรแบบเดิมที่พัฒนามาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อาจไม่เพียงพอที่จะรองรับความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้นในศตวรรษที่ 21
การเกษตรแบบดั้งเดิมที่เน้นการปลูกพืชชนิดเดียว เช่น การปลูกข้าวสาลีบนพื้นที่เดิมซ้ำ ๆ ทำให้ดินเสื่อมสภาพ สูญเสียความอุดมสมบูรณ์ ทำให้น้ำใต้ดินปนเปื้อน และลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้พืชอ่อนแอต่อโรคและแมลงศัตรูพืช การใช้ปุ๋ยและสารเคมีก็ต้องเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงการใช้น้ำและพลังงานในการเพาะปลูกก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน แม้ว่าวิธีการเกษตรแบบเดิมจะเพิ่มผลผลิตได้สูงในช่วงแรก แต่ในระยะยาวกลับไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมสำหรับอนาคต
ในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา มีการทำเกษตรเน้นกำไรมากกว่าคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและชุมชน เกษตรกรรายย่อยและคนงานในไร่ได้รับผลกระทบจากการลดค่าแรง ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง และส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อชุมชนเล็ก ๆ ในชนบท การขยายตัวของเมืองและการก่อสร้างโครงการต่าง ๆ ก็ทำให้พื้นที่การเกษตรลดลงไปเรื่อย ๆ ที่ดินที่เคยใช้ทำการเกษตรกลับถูกเปลี่ยนเป็นที่อยู่อาศัยหรือโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงกว่าการทำเกษตร
ที่มา: https://www.sciencedirect.com/…/sustainable-agriculture