Floating Solar Farm “โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ”
มากกว่า 30% ของพื้นที่ในประเทศไทย คือพื้นที่น้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำ อาจกล่าวได้ว่ามันคือพื้นที่แห่งชีวิต เพราะเป็นแหล่งเพาะปลูกทางการเกษตร และเป็นแหล่งน้ำต่าง ๆ บึง บ่อ ทะเลสาบ หนอง คลอง แม่น้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตตลอดสายที่ได้ไหลผ่าน บนผืนน้ำระยิบระยับ นอกจากทิวทัศน์ที่สวยงาม ปลาที่แหวกว่าย มันยังพอจะเป็นอะไรได้อีกนะ?
.
นักคิดค้น และนักวิทยาศาสตร์ ยกมือตอบว่ามันยังเป็นโอกาสในการช่วยโลกด้วยการผลิตพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์

อย่างที่เราทราบว่านักวิทยาศาสตร์สามารถนำแสงอาทิตย์มาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า ได้มานานเกินครึ่งทศวรรษแล้ว นวัตกรรมโซลาร์เซลล์พัฒนาประสิทธิภาพมาต่อเนื่องจนสามารถนำมาประยุกต์ใช้กัน อย่างกว้างขวางอย่างในปัจจุบันในฐานะพลังงานสะอาด ที่ทุกคนเข้าถึงได้ง่ายไร้ขีดจำกัด ทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ไม่มีขั้นตอนที่ก่อให้เกิดมลภาวะ จึงเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยพลังงานสะอาด

ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิประเทศเขตโซนร้อน มีความเข้มข้นของรังสีติดอันดับของโลกทำให้เรามีศักยภาพการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในระดับเข้มข้น

แต่คนทั่วไป เวลาที่พูดถึง “พลังงานแสงอาทิตย์”อาจนึกถึงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบ Solar Rooftop ซึ่งเป็นการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา หรือเห็น Solar Farm ที่ต้องติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนพื้นดิน แต่ที่จริงแล้ว การผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ยังมีอีกรูปแบบที่น่าสนใจ คือ Floating Solar เป็นการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนผืนน้ำ แต่ด้วยการที่ประเทศไทยยังไม่เคยมีผู้ที่เชี่ยวชาญมากพอ ไม่มีผู้ผลิตโดยตรงจึงทำให้ไม่เป็นที่นิยมสักเท่าไหร่

ทว่าไม่ใช่ในเวลานี้อีกแล้ว และนี่คือความสำคัญของ “พื้นที่น้ำ และพื้นที่ชุ่มน้ำ” ที่เราเกริ่นไปตั้งแต่ต้น ว่ามันกินพื้นที่ประเทศไทยไปมากกว่า 30% และยังไม่รวมพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเล ซึ่งนั่นคือความอุดมสมบูรณ์ในแบบฉบับของ Floating Solar
การติดตั้งแผงโซลาร์ในน้ำยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพกำลังผลิตของแผ่นโซลาร์เซลล์ได้ เพราะน้ำสามารถช่วยระบายความร้อนของระบบที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิตไฟฟ้า และเพิ่มประสิทธิภาพกำลังการผลิตได้ 5-20% จากความเย็นของน้ำใต้แผ่น (cooling effect) เมื่อเทียบกับการติดตั้งโครงการโซลาร์ฟาร์มบนดินและโครงการโซลาร์บนหลังคาทั่วไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานที่และสภาพอากาศ รวมไปถึงทุ่นโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำที่คลุมอยู่บนผิวน้ำยังช่วยลดการระเหยของน้ำที่กักเก็บไว้ใช้อีกด้วย

มองด้วยสายตาของคนทั่วไป ทุ่นลอยน้ำโซลาร์ฟาร์มเป็นทางเลือกที่ดีหากเทียบกับการใช้พลังงานอย่างอื่น แต่กับสายตาของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ก็ถือเป็นทางเลือกที่ดีให้กับกิจการที่ต้องการประหยัดต้นทุนในระยะยาวเพราะอายุการใช้งานของระบบทุ่นสำหรับโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำของเอสซีจี เคมิคอลส์ยาวนานกว่า 25 ปี นับเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม (Eco Innovation) ที่เอสซีจี เคมิคอลส์พัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์ทั้งเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อม และเป็นโซลูชั่นใหม่ให้กับลูกค้าที่ต้องการใช้พื้นที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์ และเป็นการเพิ่มโอกาสในการผลิตพลังงานสะอาดให้กับประเทศไทย เปลี่ยนความร้อนของแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานสะอาดที่ทำให้เราเย็นชื่นใจกันตลอดไป

Credit: http://www.allaroundplastics.com/article/innovation/1802