#กักตัว ช่วงนี้ใครหลายๆ คน ก็คงแยกกักตัวอยู่ การแยกกักตัว เป็นการเสียสละช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อคนที่คุณรัก และคนอื่นๆ ปลอดภัยจากไวรัสร้าย อยากให้นึกคิดวางแผนว่าจะทำอะไรเมื่อระยะแยกตัวเสร็จสิ้น สร้างความมั่นใจกับตัวอย่างว่าคุณจะรับมือกับสถานการณ์นี้ได้เช่นกัน จำไว้ว่าช่วงเวลาที่ลำบากจะไม่อยู่กับเราตลอดไป อึด ฮึด สู้ แล้วมันจะผ่านไป…. กักตัวสังเกตอาการที่บ้านอย่างไร ให้มีความสุข วันนี้เราไปดูกันครับ…

#ใช้ชีวิตให้เหมือนเดิม
ทำกิจวัตรประจำวันที่เคยมีให้มากที่สุดในรูปแบบที่ปลอดภัย เช่น ทำงานจากที่บ้าน

#เชื่อมโยงกับคนอื่น
เตรียมอุปกรณ์ติดต่อสื่อสารเพื่อพูดคุยกับสมาชิกคนอื่นเพื่อลดความเครียด

#หาอะไรทำแก้เบื่อ เช่น ออกกำลังกายเป็นประจำที่บ้าน ทำสิ่งที่ชอบช่วยช่วยคลายเครียด เบื่อและเศร้าได้ส่งการบ้านทางอีเมล

#เช็คอินระดับความเครียด
ผ่านเว็ปไซต์ของกรมสุขภาพจิต โดยใช้แบบประเมินง่ายๆ วัดความเครียด และภาวะซึมเศร้า

#จัดการกับความเครียด
ใช้แอพพลิเคชั่นจัดการความเครียดและการนอนหลับการฝึกเทคนิคการหายใจคลายเครียด หรือฝึกสมาธิ

#ส่งต่อ
ถ้าพบมีระดับความเครียดสูง หรือเกิดอาการต่อไปนี้ ได้แก่ รู้สึกกังวลรุนแรงจนไม่มีสมาธิ นอนไม่หลับ ใจสั่น ปวดศีรษะ ขอความช่วยเหลือได้ที่ สายด่วนสุขภาะจิต 1323

#เด็กที่โดนแยกตัว
ใช้หลักเดียวกัน เด็กแต่ละวัยเข้าใจเรื่องราวไม่เหมือนกัน ต้องค่อยๆอธิบายด้วยการใช้ภาษาที่เหมาะสมกับวัยของเค้า หากิจกรรมอะไรให้ทำเพื่อความเพลิดเพลิน แล้วค่อยๆ ชี้แจง

ขอขอบคุณข้อมูล : กรมสุขภาพจิต
#เพื่อนชุมชนบ้านเราน่าอยู่สังคมยั่งยืน