#ระยะปลอดภัย

#ระยะปลอดภัย หรือ Social Distancing
การเว้นระยะห่างทางสังคมนั้นไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรก แต่ได้มีการนำมาใช้ในเหตุการณ์การระบาดทั่วโลกหลายครั้งแล้ว จึงพิสูจน์ได้ว่ามาตรการป้องกันการระบาดแบบเว้นระยะห่างมีประสิทธิภาพ และสามารถช่วยทุเลาระดับความรุนแรงของการระบาดได้จริง ในส่วนของประเทศไทยทางกระทรวงสาธารณะสุขก็ประกาศใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัส (Covid-19) ขยายวงกว้างในสังคมไทย

1. วิธีการประชุม
– หลีกเลี่ยงการประชุมที่มีคนจำนวนมาก หรือ ปรับเปลี่ยนเป็นการประชุมแบบออนไลน์ ทุกวันนี้มีโปรแกรมหลากหลายที่สะดวกต่อการประชุมออนไลน์ เช่น Zoom , Google Hangout

2. เว้นระยะการนั่ง
– หากยังจำเป็นต้องไปนั่งทำงานรวมกับผู้อื่น ให้นั่งเว้นระยะห่าง และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกัน
– ติดสติกเกอร์ห้ามนั่งระหว่างที่นั่งที่ติดกัน

3. การเดินทาง
– หลีกเลี่ยงการเดินทางที่ไม่จำเป็น เว้นแต่การออกไปทำงาน หรือไปโรงพยาบาล
– ออกจากบ้านให้น้อยที่สุด เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อจากผู้อื่น หรือ แพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น

4. เว้นระยะห่างระหว่างกัน
– หลีกเลี่ยงการไปในพื้นที่คนพลุกพล่าน หรือที่อากาศถ่ายเทน้อย เช่น สนามมวย สถานบันเทิง
– หากยังต้องพบปะบุคคลอื่น ให้เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร เป็นระยะปลอดภัยจาก COVID-19

5. การรับประทานอาหาร
– หลีกเลี่ยงการทานอาหารร่วมกับผู้อื่น ไม่นั่งทานในโรงอาหาร หรือร้านที่มีคนเยอะๆ
– ทานอาหารจานเดียว และพกช้อนส้อมส่วนตัวเสมอ หากจำเป็นต้องทานอาหารจากจานกลาง ควรมีช้อนกลาง

6. ขนส่งสาธารณะ
– หลีกเลี่ยงการใช้ขนส่งสาธารณะ ในชั่วโมงเร่งด่วน มีความเสี่ยงในการติดต่อ และแพร่เชื้อสูง (มี social distancing น้อย)
– ในระยะทางใกล้ๆ เปลี่ยนมาเดิน หรือขี่จักรยานแทน ในกรณีต้องเดินทางระยะไกล ควรใช้รถยนต์ส่วนบุคคล แท็กซี่ หรือเดินทางในช่วงเวลาที่คนไม่พลุกพล่าน

7. การจัดกิจกรรม
– งดการจัดกิจกรรมที่อาจจะมีการสัมผัส หรือใกล้ชิดผู้อื่น เช่น คอนเสิร์ต การประชุมสัมนา เป็นต้น
– เลื่อนกิจกรรมในช่วงนี้ออกไปก่อน เพื่อลดการกระจายและการแพร่ระบาดของ COVID-19

ขอบคุณที่มาดีๆ : สสส.