การดูแลผู้สูงวัยด้วยหลัก 6 อ.

จากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของมนุษย์ การทิ้งและกำจัดขยะไม่ถูกวิธีก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน และเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน ปัญหาใหญ่ที่เราเผชิญกันมานาน เเละกำลังวิกฤตในตอนนี้
ทุกอย่างจะหมดไป ถ้าทุกคนร่วมใจ ร่วมมือกัน ช่วยลดเเละคัดแยกขยะง่ายๆ ด้วยหลัก 7R

1. Refuse (ปฏิเสธการใช้)
จากรายงานการสรุปสรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2561 ประเทศไทย มีปริมาณขยะประเภทพลาสติกมากถึง 2 ล้านตัน ซึ่งไม่สามารถกำจัดได้ด้วยวิธีฝังกลบ ส่วนมากจะนำไปเผาทำลาย แต่ก็สร้างมลพิษให้กับอากาศ ซึ่งการปฏิเสธการใช้ทรัพยากรที่จะสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เป็นเพื่อเป็นการลดปริมาณขยะ เช่น กล่องโฟม ถุงพลาสติก ขยะมีพิษ และผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งต่าง ๆ โดยทางออกง่าย ๆ ให้เราเปลี่ยนมาใช้กล่องข้าวที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ ถุงผ้ารักษ์โลก กระบอกน้ำแบบพกพาแทน หรือการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ซ้ำ ๆ ซึ่งก็ต้องบอกเลยว่า นอกจากสิ่งของพวกนี้จะช่วยลดปริมาณขยะและมลพิษทางอากาศแล้ว บางครั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย เนื่องจากปัจจุบันร้านค้าหรือร้านอาหารหลายร้านมีโปรโมชั่นสำหรับลูกค้าที่นำบรรจุภัณฑ์มาเองนั่นเอง

2. Refill (การใช้สินค้าที่เติมได้)
การเลือกใช้สินค้าชนิดเติมแทนสินค้าใส่บรรจุภัณฑ์ใหม่ที่ใช้แล้วทิ้ง เพราะเป็นการช่วยลดขยะหรือบรรจุภัณฑ์ชิ้นใหญ่ ซึ่งใช้ทรัพยากรในการผลิตมากกว่า อีกทั้งยังเป็นการประหยัดเงินในกระเป๋าไปในตัวด้วย โดยส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์ที่มีแบบเติมจะเป็นพวกของใช้ในบ้าน เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า สบู่เหลว แชมพู ครีมนวดผม และถ่านที่สามารถชาร์จได้

3. Return (การหมุนเวียนมาใช้ใหม่)
การเลือกใช้สินค้าที่เป็นบรรจุภัณฑ์หมุนเวียน สามารถส่งคืนให้กับผู้ผลิต แล้วนำกลับมาใช้งานต่อได้ เช่น การคืนขวดน้ำอัดลมที่เป็นขวดแก้ว บริษัทที่ผลิตน้ำอัดลมจะนำขวดแก้วกลับไปทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ เพื่อหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ เป็นการลดการใช้ทรัพยากร เช่น ทราย พลังงาน และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตแก้ว หรือลดการใช้ขวดพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง

4. Repair (การซ่อมแซม)
การซ่อมแซมข้าวของเครื่องใช้ที่พังให้กลับมาใช้งานได้ใหม่อีกครั้ง หรือการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างถูกวิธี เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น ใช้ประโยชน์จากสิ่งของให้คุ้มค่า และช่วยลดปริมาณการเกิดขยะไปในตัว เช่น การซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านแทนซื้อใหม่ การเปลี่ยนอะไหล่บางชิ้นเพื่อให้ใช้งานได้ต่อ การอัปเกรดส่วนประกอบของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แทนเปลี่ยนเครื่อง และการอุดรูรั่ว หรือรอยร้าวของสิ่งของแทนเปลี่ยนใหม่ เป็นต้น ก็สามารถช่วยลดปริมาณขยะได้

5. Reuse (การใช้ซ้ำ)
การช่วยลดขยะอย่างมีประสิทธิภาพอีกอย่างหนึ่งคือ การนำสิ่งต่าง ๆ ทั้งผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว กลับมาใช้ซ้ำให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด จนกว่าจะเสื่อมประสิทธิภาพหรือหมดอายุการใช้งาน โดยมีสโลแกนติดหูว่า “ใช้แล้ว ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่” เช่น การพกถุงผ้าไว้ใช้ใส่ของแทนถุงพลาสติกทุกครั้ง การนำถุงพลาสติกที่ได้มาทำเป็นถุงขยะ การนำกล่องลังที่ได้มาเป็นภาชนะใส่ของ การใช้กระดาษให้ครบทั้งสองหน้า รวมถึงการนำสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วไปบริจาคให้กับคนอื่นที่ต้องการต่อไปด้วย

6. Recycle (การนำกลับมาใช้ใหม่)
การนำขยะหรือของเหลือใช้มาแปรรูปผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขยะที่จัดอยู่ในประเภทขยะรีไซเคิล เช่น กระดาษ ขวดแก้ว ขวดพลาสติก และกระป๋องเครื่องดื่ม โดยเราทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการรีไซเคิลได้ด้วยการคัดแยกขยะที่บ้าน แล้วนำไปขายที่ธนาคารขยะหรือร้านรับซื้อของเก่า นำไปดัดแปลงเป็นข้าวของเครื่องใช้ หรือไม่ก็นำไปบริจาคให้กับโครงการต่าง ๆ เพื่อเป็นการหมุนเวียนทรัพยากรต่อไป ส่วนตัวอย่างการรีไซเคิล ได้แก่ การนำกล่องนมไปทำเป็นหลังคาบ้าน การนำขวดพลาสติกไปทำเป็นเสื้อผ้าหรือจีวรพระ การนำฝาขวดน้ำพลาสติกไปทำเป็นภาชนะหรือกระถางต้นไม้ และการนำถุงพลาสติกไปทำเป็นบล็อกปูถนน เป็นต้น

7. Reduce (การลดการใช้)
การลดการใช้ทรัพยากรให้เหลือเท่าที่จำเป็น พร้อมทั้งนำทรัพยากรนั้น ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วย หรือเรียกง่าย ๆ ว่า เป็นการไม่ใช้ของสิ้นเปลืองและไม่กินทิ้งกินขว้างนั่นเอง เช่น การกินอาหารให้หมดเกลี้ยงทุกมื้อ การดื่มน้ำให้หมดเกลี้ยงทุกครั้ง การพกกล่องข้าวติดตัวไว้ใส่อาหารที่กินเหลือ การใช้ผ้าเช็ดหน้าแทนกระดาษทิชชู การใช้กล่องข้าวที่ใช้ซ้ำได้หลายครั้งแทนกล่องโฟมที่ใช้ได้ครั้งเดียว การล้างผัก-ผลไม้ในอ่างแทนการล้างจากก๊อกน้ำโดยตรง การปิดน้ำ-ปิดไฟเมื่อเลิกใช้งานเสมอ การซื้อของซ้ำ ๆ หรือมากจนเกินไป และการลดการใช้กระดาษอย่างสิ้นเปลืองนั่นเอง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ดร.กัญณภัทร ชื่นวงศ์ สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดร.เพ็ญศิริ ประชากิตติกุล สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ สำนักสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
ดร.สุธาทิพย์ สินยัง สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ดร .ธนิตา อารีรบ สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต